วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

2.1 ต่อมใต้สมองอยู่ไหน

ต่อมใต้สมองหรือต่อมพิทูอิทารี หรือไฮโปไฟซีส (pituitary หรือ hypophysis) รูปร่างค่อนข้างกลมคล้ายถั่ว (bean-shaped) ขนาดประมาณ 1.2 x 1.5 เซนติเมตร ในผู้ใหญ่หนักประมาณ 0.4-0.6 กรัม ตั้งอยู่ในแอ่งเรียกว่าเซลลา เทอร์ซิกา (sella turcica) ของกระดูกสฟีนอยด์ (sphenoid) โดยอยู่ใต้ส่วนไฮโพทาลามัส มีส่วนติดต่อกับไฮโพทาลามัส เป็นก้านยาว ซึ่งถ้าเป็นภาพสามมิติจะมีรูปร่างเป็นกรวยเรียกว่าก้านต่อมใต้สมองหรืออินฟันดิบูลัม (infundibulum)



กายวิภาคศาสตร์ของต่อมใต้สมอง

การควบคุมและการสร้างฮอร์โมน

1.การควบคุมแบบย้อนกลับ คือ การที่ฮอร์โมนที่มีปริมาณมากเกินไปยับยั้งการหลั่งของตัวเอง หรือไปยับยั้งฮอร์โมนตัวอื่น ที่มีหน้าที่กระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนนั้น โดยวิธีทางตรงหรือวิธีทางอ้อม เช่นไทโรโทรปิน รีลิสซิงฮอร์โมน (TRH) ไปกระตุ้นต่อมใต้สมอง ส่วนหน้าให้หลั่งไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน (TSH) ออกมาแล้วฮอร์โมนนี้ไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ ให้สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน (T3หรือ T4) เมื่อไทรอย์ฮอร์โมนมีระดับที่สูงแล้วจะไปยับยั้งการสร้างของ TSH หรือไปยับยั้งการสร้าง TRH

2. การควบคุมทางระบบประสาท คือ การควบคุมจากระบบประสาท เมื่อระบบประสาทถูกกระตุ้นจะทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนทันที เช่น ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง   ถ้ามีการกระตุ้นระบบประสาทจะมีการหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยในการหลั่งของฮอร์โมนอื่นหรือรีลิสซิง แฟคเตอร์ (releasing factor) หรือฮอร์โมนที่ยับยั้งการหลั่งของฮอร์โมนอื่นหรืออินฮิบิทิง แฟคเตอร์ (inhibiting factor) จากสมองส่วนไฮโพทาลามัส เข้าสู่กระแสเลือด แล้วสารเหล่านี้ไปกระตุ้น หรือยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า

เส้นเลือดที่มาเลี้ยงต่อมใต้สมอง

เส้นเลือดที่มาเลี้ยงต่อมใต้สมองมาจากเส้นเลือดแดง (internal carotid arteries) 3 เส้น คือซูพีเรียไฮโพไฟเซียล (superior hypophyseal arteries) มาที่มีเดียน เอมิเนนส์ (median eminence) แล้วไปตามเส้นเลือดพอร์ทัลแบบยาวที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ได้รับเลือดมาจากเส้นเลือดแดงชื่อมิดเดิลและอินฟีเรียไฮโพไพเซียล (middle และ inferior hypophyseal arteries)


เส้นเลือดที่มาเลี้ยงต่อมใต้สมองส่วนหน้า


ถ้าฮอร์โมนผิดปกติจะเป็นอย่างไร?

ความผิดปกติของฮอร์โมนมักเกิดจากการหลั่งฮอร์โมนนั้นมากเกินไปหรือหลั่งฮอร์โมนนั้นน้อยเกินไปโดยมีปัจจัยต่างๆ มาทำให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆ
           - การมีฮอร์โมนน้อยเกินไป
         อาจเกิดจากเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง ไปกดเบียดทำให้เซลล์ของต่อมทำงาน หรือผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง

             - การมีฮอร์โมนมากเกินไป   
 อาจเกิดจากเนื้องอกของเซลล์ต่างๆ เช่น โซมาโตโทรฟ ที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้าทำให้เกิด การเจริญของร่างกายใหญ่โตผิดปกติ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องโกรทฮอร์โมน)
    - การรักษา
ในปัจจุบันนิยมการผ่าตัดเอาเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองออกโดยการผ่าตัดผ่านทางจมูกไปที่กระดูกสฟีนอยด์ (transphenoidal surgery) เพื่อนำเนื้องอกออก ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่เล็ก ไม่ต้องพักฟื้นนาน ไม่ต้องผ่าตัดโดยการ ผ่ากระโหลกศีรษะ ให้กระทบกระเทือนเป็นอันตรายต่อเส้นประสาท เส้นเลือดและเนื้อสมองอื่นๆ



การผ่าตัดนำเอาเนื้องอกของต่อมใต้สมองออกโดยการใช้เครื่องมือผ่านทางจมูก ผ่านไปทางกระดูกสฟีนอยด์ไปที่เนื้องอก ตัดเนื้องอก แล้วนำเนื้องอกออกมา ทั้งหมดต้องทำผ่านกล้องขยาย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น