วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

4.3 วิตามินดี

โครงสร้าง

วิตามินดีหรือแคลซิเฟอรอล (calciferol) เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่สร้างได้ที่ผิวหนัง โดยเกิดจาก7 ดีไฮโดรคอเลสเทอรอลทำปฏิกิริยากับแสงแดดแล้วเปลี่ยนเป็นวิตามินดี 3 เมื่อสร้างขึ้นหรือดูดซึมจากลำไส้จะถูกสะสมในตับ และเปลี่ยนเป็น 25 ไดไฮดรอกซิ โคลแคลซิเฟอรอล (25 dihydroxycholecalciferal : 25-OHD 3) และสารนี้จะถูกเปลี่ยนที่ไตเป็น 1,25 ไดไฮดรอกซิ 
โคลแคล
ซิเฟอรอล (1,25 dihydroxycholecalciferol :1,25 (OH) 2 D 3) ซึ่งเป็นตัวที่มีผลทางสรีรวิทยา ควบคุมการสร้างโดยพาราฮอร์โมน แคลเซียม และฟอสเฟต    การได้รับแสงแดดอยู่เสมอไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินดีจากอาหาร นอกจากคนที่ต้องการได้รับแคลเซียมมากกว่าปกติ เช่น ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือที่ให้นมบุตร เป็นต้น

วิตามินดีมีผลต่อการสร้างของกระดูก ดังนั้นก่อนที่จะศึกษาหน้าที่ของวิตามินดี เรามารู้จักกระดูกกันก่อน
        โครงสร้างของกระดูก
       กระดูกเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ที่เป็นคลอลาเจนและมี แคลเซียมและฟอสเฟตเ ป็น ส่วนประกอบ  มีสูตรโครงสร้างทั่วไปคือ Ca10(PO4)6(OH)2    จะมีการสร้าง และการทำลายอยู่ตลอดเวลา
         ชนิดของกระดูกประกอบด้วย
          สันกระดูก (compact หรือ cortical bone)  เป็นส่วนประกอบประมาณ 80 เปอร์เซนต์ของกระดูก ทั้งหมด อยู่ด้านนอก เป็นส่วนที่มีโครงสร้างแข็งแรง  มีลักษณะ แน่น การเจริญของกระดูกนี้ขึ้นอยู่กับ แรงที่กดด้วย ถ้ามีแรงกดมาก ความหนาของกระดูก ก็จะเพิ่มตามไปด้วย 
       แกนกระดูก ( tabecular หรือ spongy bone) เป็นส่วนประกอบประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของกระดูกทั้งหมด อยู่ด้านในของสันกระดูก เป็นส่วนที่มีลักษณะมีโพรงคล้ายฟองน้ำ มีรูพรุนจะเป็นโครงตาข่าย สานเป็นร่างแหไปมา
       ระหว่างการเจริญเติบโต ด้านปลายของกระดูกที่เรียกว่าเอพิไฟซิส (epiphyses) จะไม่ติดกับสันกระดูก จะมีแผ่นที่เรียกว่าเอพิไฟเซียล เฟลท (epiphyseal plate) คั่นอยู่   ซึ่งแผ่นนี้จะมีการเจริญแบ่งเซลล์อยู่ตลอดเวลา ถ้าแผ่นนี้กว้างก็แสดงว่ากระดูกนี้จะยาวได้มากขึ้น ถ้าแผ่นนี้ปิด กระดูกนั้นจะหยุดการเจริญยาวออก
        เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการสร้างกระดูกเรียกว่าออสทีโอบลาส(osteoblasts) และเซลล์ที่ทำลายกระดูก เรียกว่าออสทีโอคลาส(osteoclasts) การดูดซึมของแคลเซียมและฟอสเฟต จากลำไส้ และจากการร่วมทำงานของวิตามินดี ทำให้มีการเพิ่มเซลล์ออสทีโอบสาส มีการสร้างกระดูกมากยิ่งขึ้น


หน้าที่

  ผลต่อกระดูก 1,25 (OH) 2D 3 มีผลกระตุ้นการสร้างกระดูก และการเกาะของแร่ธาตุ (mineralization) ที่กระดูก นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ร่วมกับพาราไทรอยด์ ฮอร์โมน ในการกระตุ้นการดูดซึมแคลเซียม โดย
        ผลต่อลำไส้ ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้เล็ก ทำให้แคลเซียมในพลาสมาสูงขึ้น
        ผลต่อไต      กระตุ้นการดูดกลับทั้งแคลเซียม และฟอสเฟตที่ท่อไตส่วนต้น


ความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมน

ผู้ที่ขาดวิตามินดี มักเป็นผู้ที่อยู่แต่ในบ้าน คนที่ป่วยไข้ต้องนอนอยู่ตลอดเวลา ผู้ที่มีปัญหาในการดูดซึมไขมัน เช่นผู้ที่เป็นโรคตับ ตับอ่อน และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบท่อน้ำดี
        ถ้าความเข้มข้นของแคลเซียมในกระแสเลือดลดน้อยลง จะมีผลให้การทำงานของกระแสประสาทผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่หลอดลมเกิดการหดตัวแล้วไม่คลาย ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ แต่ถ้ามีแคลเซียมในกระแสเลือดมากเกินไป จะกดการทำงานของกระแสประสาททำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง การทำงานของรีเฟร็กซ์หายไป ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตเช่นกัน
         นอกจากนี้ภาวะขาดวิตามินดี จะมีผลต่อร่างกาย ดังนี้
       - โรคกระดูกอ่อน (rickets) พบในเด็กทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกและฟันผิดปกติหรือหยุดชะงัก
       - โรคกระดูกผุ (osteomalacia) เป็นกระดูกผุที่พบในผู้ใหญ่ ทำให้กระดูกหักง่าย เนื่องจาก ขาดแคลเซี่ยม และฟอสเฟต ที่เป็นส่วนประกอบของกระดูก  มองจากภายนอกจะไม่เห็นอาการชัด
        ภาวะวิตามินดีเป็นพิษ (vitamin D intoxication) คือการที่ระดับแคลเซียม และฟอสเฟตในพลาสมา สูงเกินไป มีแคลเซียมไปจับที่เนื้อเยื่อต่างๆจะทำให้มีอาการกระสับกระส่าย น้ำหนักลด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น