วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

3.5 แพนคริเอติก พอลิเปปไทด์

       แพนคริเอติก พอลิเปปไทด์ หรือ พีพี (pancreatic polypeptide: PP) เป็นโปรตีนที่จำเพาะที่สร้างจากเอฟ เซลล์ ของตับอ่อน ประกอบด้วยกรดอะมิโนทั้งหมด 36 หน่วย และที่ปลายซี( C -terminal) เป็นไทโรซีนที่มีหมู่พิเศษอยู่ตรงปลาย พีพีอยู่ในกลุ่มของโมเลกุลที่มีโครงสร้างคล้ายกับนิวโรเปปไทด์ วาย ( neuropeptide Y)ในไฮโพทาลามัส
แสดงกลุ่มเซลล์ในหนึ่งไอเลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ของตับอ่อนเช่น แอลฟา เบตา เดลตาและ เอฟ เซลล์ ซึ่งเอฟ เซลล์ทำหน้าที่สร้างแพนคริเอติก พอลิเปปไทด์
(pancreatic polypeptide
)
       พีพีจะหลั่งออกมาเมื่อได้รับการกระตุ้น จากการย่อยอาหารที่กระเพาะและลำไส้ โดยผ่านขบวนการ การกระตุ้นของระบบประสาท แบบโคลลิเนอจิก(cholinergic) และจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ยับยั้งการหลั่งเมื่อมี การให้น้ำตาลกลูโคส หน้าที่ที่ทราบอย่างชัดเจนคือ ยับยั้งการหลั่งของต่อมมีท่อ ของตับอ่อน ส่วนหนึ่งเกิดจากยับยั้งการดูดซึม การสร้างสารตั้งต้น(precursor) ของกรดอะมิโน ที่ลำไส้เล็กของต่อมมีท่อของตับอ่อน หน้าที่ที่สำคัญของพีพียังไม่ทราบแน่ชัด แต่ถ้ามีพีพีในกระแสเลือดสูงขึ้นเป็นตัวบ่งชี้ ถึงการมีเนื้องอกของเซลล์ไอเลตส์และตอบสนองต่อการรักษา แต่ถ้าระดับพีพีในพลาสมาไม่สูงขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลกลูโคสลดลงอย่างมาก อาจหมายถึงว่าเซลล์ไอเลตส์ในตับอ่อนไม่มีเส้นประสาทโคลลิเนอจิกมาเลี้ยง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น