วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

1.3 ประเภทของฮอร์โมน

1. สเตรอยด์ฮอร์โมน (steroid hormones)

สเตรอยด์ฮอร์โมนทั้งหมดสังเคราะห์มาจากคอเลสเทอรอล (cholesterol) แล้วเปลี่ยนเป็นสารตัวกลางคือเพรกนิโนโลน (pregnenolone) แล้วจะเปลี่ยนแปลงโดยเอนไซม์แต่ละชนิดและเนื้อเยื่อนั้นๆ ว่าทำหน้าที่อะไร มีคุณสมบัติละลายในไขมัน จึงสามารถแพร่ผ่านเข้า เยื่อหุ้มเซลล์ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นไขมันและโปรตีนไปทำปฏิกิริยาในนิวเคลียส
สเตรอยด์ฮอร์โมนได้แก่ฮอร์โมนเพศ (sex hormone) เช่น อีสโทรเจน (estrogen)     เทสโทสเทอโรน (testosterone) ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก (adrenal cortex) เช่นแอลโดสเตอโรน (aldosterone) คอร์ติซอล (cortisol) รวมทั้งวิตามินดี (vitamin D)


สูตรโครงสร้างของสเตอรอยด์ฮอร์โมนซึ่งมีคอเลสเทอรอลเป็นสารตั้งต้น

2. เปปไทด์ฮอร์โมนหรือโปรตีนฮอร์โมน (peptide/protein hormones)

ฮอร์โมนส่วนใหญ่เป็นเปปไทด์ฮอร์โมน ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนจำนวนแตกต่างกัน ต่อกันเป็นสายเปปไทด์ (peptide chain) ทำให้ฮอร์โมนในกลุ่มนี้ มีขนาดแตกต่างกัน มากตั้งแต่เล็กที่สุด คือ   ไทโรโทรปิน รีลีสซิ่งฮอร์โมน (thyrotropin releasing hormone: TRH) ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 ตัวไปจนถึงโปรตีนฮอร์โมนที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ เช่น โกรธฮอร์โมน (growth hormone) เป็นต้น
Glu – His – Pro
 สูตรโครงสร้างของไทโรโทรปิน รีลีสซิ่งฮอร์โมน (TRH) ซึ่งมีขนาดเล็ก


สูตรโครงสร้างของโกรทฮอร์โมน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นเปปไทด์ฮอร์โมน

นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนบางตัว เช่นพาราไทรอยด์ฮอร์โมน (parathyroid hormone) และอินซูลิน (insulin) โปรตีนฮอร์โมนบางชนิดที่รวมกับ คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) เรียกว่า ไกลโคโปรตีน (glycoprotein) ได้แก่ฮอร์โมนกลุ่มโทรปิกฮอร์โมน ( tropic hormone) และโกนาโดโทรปิน (gonadotropin) ได้แก่ LH, FSH, HCG และ TSH นอกจากนี้ยังพบที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง หรือบางส่วนของไฮโพทาลามัส (hypothalamus) เช่น ฮอร์โมนออกซิโทซิน


ฮอร์โมนเหล่านี้ละลายน้ำได้ดี (hydrophilic) แต่ไม่ละลายในไขมัน (hydrophobic) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้ฮอร์โมนจับกับ ตัวรับสัญญาณที่เยื่อหุ้มเซลล์ ไม่สามารถซึมผ่าน เยื่อหุ้มเซลล์ที่มีส่วนประกอบเป็นไขมันได้


3. เอมีนฮอร์โมน (amine hormones)

 เอมีนฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่มีขนาดเล็ก ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และไนโตรเจน สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนไทโรซีน (tyrosine) ซึ่งมีสูตรโครงสร้างเป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโน (amino acid derived hormone) ได้แก่ฮอร์โมนแคททีโคลามีน (catecholamine: epinephrine, norepinephrine) ฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroxine)ซึ่งทั้งหมดนี้มีหมู่เอมีน(NH2) อยู่ด้วย นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนซีโรโทนิน (serotonin) และเมลาโนโทนิน (melanotonin) โดยระดับของฮอร์โมนไม่แน่นอน  มีระดับสูงๆ ต่ำๆ อยู่เสมอ และเมื่อสร้างแล้วจะเก็บไว้เมื่อได้รับการกระตุ้นจึงหลั่ง


โครงสร้างของกรดอะมิโนไทโรซีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของเอมีนฮอร์โมนคือแคททีโคลามีนและไทรอยด์ฮอร์โมน

       การสังเคราะห์แคททีโคลามีนจากไทโรซีน เริ่มจากไทโรซีนเปลี่ยนเป็น ไดไฮดรอกซิฟีนิลเอทธิลามีน (dihydroxyphenylethylamine) หรือโดพามีน (dopamine) และเป็นแคททีโคลามีน และการสังเคราะห์ไทรอยด์ฮอร์โมนจากไทโรซีน 
4. เอโคซานอยด์ (eicosanoid hormones)

 เอโคซานอยด์ (eicosanoids) เป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่มีวงแหวนคาร์บอน 5 ตัวอยู่ที่ปลาย เป็นอนุพันธ์ของกรดไขมันไม่อิ่มตัว ฮอร์โมนกลุ่มนี้ได้แก่พรอสตาแกลนดิน (prostaglandin) ธรอมบ็อกแซน (thromboxane) ลิวโกไทรอีน (leukotriene) เป็นอนุพันธ์ของกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีคาร์บอน 20 อะตอม (20 carbon polyunsaturated fatty acid เรียกว่า อะแรคคิโดเนท (arachidonate) มีลักษณะเป็นพาราครินฮอร์โมน คือเมื่อหลั่งออกมา ฮอร์โมนจะมีผลต่ออวัยวะใกล้เคียง แต่จำนวนที่ผลิตออกมาจะไม่มาก และจะไม่สร้างเก็บไว้  จะสร้างก่อนการใช้งานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และจะหยุดการทำงานอย่างรวดเร็ว


สูตรโครงสร้างของกรดอะแรคคิโดนิก ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของเอโคซานอยด์ ที่พบมากคือพรอสตาแกลนดิน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น