ฮอร์โมนมีทั้งสามารถเคลื่อนที่ไปในกระแสเลือดได้ด้วยตัวเอง และต้องอาศัยตัวขนส่งพาไป โดยแบ่งได้ดังนี้
ฮอร์โมนที่ละลายในน้ำได้ (hydrophilic) ได้แก่ เปปไทด์ฮอร์โมน และเอมีนฮอร์โมน สามารถไหลเวียน ไปในกระแสเลือด ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นน้ำได้โดยไม่ต้องจับกับโมเลกุลอื่น
ฮอร์โมนที่ไม่ละลายในน้ำ (hydrophobic ) ได้แก่ สเตรอยด์ฮอร์โมนและไทรอยด์ฮอร์โมน เมื่ออยู่ในกระแสเลือด ต้องจับกับโปรตีน เพื่อเป็นตัวพาฮอร์โมน ไหลเวียนไปในกระแสเลือด (blood plasma) โปรตีนประเภทนี้ เรียกว่าโปรตีนขนส่ง (transport protein) หรือตัวพา (carrier) เช่น อัลบูมิน (albumin) หรือโกลบูลิน (globulin) ฮอร์โมนที่จับกับโปรตีนเรียกว่า ฮอร์โ
มนที่ถูกจับไว้(bound hormone) เป็นฮอร์โมนที่
ยังทำงานไม่ได้ ซึ่งฮอร์โมนที่จะเข้าเซลล์หรือ จับกับตัวรับสัญญาณบนเยื่อเซลล์ได้ ก็ต่อเมื่อเป็นฮอร์โมนที่หลุดและเป็นอิสระจากโปรตีน หรือที่เรียกว่าฮอร์โมนอิสระ (free hormone) ฮอร์โมนที่อยู่ในรูปอิสระในกระแสเลือดมีความเข้มข้นต่ำ ประมาณร้อยละ 0.03 – 10 ของฮอร์โมนทั้งหมดเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น