วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ุ6.2 ฮอร์โมนจากต่อมไทมัส


       ต่อมไทมัสอยู่ที่หน้าอกใต้กระดูกสเตอร์นัมหรือลิ้นปี่ (sternum)     มีจำนวน 2 พู อยู่รอบเส้นหัวใจใหญ่งฮอร์โมนชื่อ ไทโมซิน (thymosin) และไทโมโปอิทิน ( thymopoietin)
       เมื่อเป็นเด็กต่อมไทมัสจะมีขนาดใหญ่    เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นขนาดของต่อมจะเล็กลง เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ (adulthood) ต่อมนี้จะเหี่ยวไป (atrophy)   และเมื่อเข้าสู่วัยชราจะกลายเป็นพังผืด (fibrous)
กายวิภาคศาสตร์ของต่อมไทมัส


UP 

       ไทโมซินเป็นฮอร์โมที่สร้างจากต่อมไทมัส ซึ่งมีโครงสร้างเป็นสาย พอลิเปปไทด์ ที่มีกรดอะมิโนต่อกันเป็นสาย มีโครงสร้างหลายแบบ เช่น ไทโมซินแอลฟาหนึ่ง และไทโมซินเบตาสี่ เป็นต้น



      ไทโมซินทำหน้าที่กระตุ้นการแบ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทลิมโฟไซท์ (lymphocyte หรือ T cell) ที่ยังอ่อนอยู่ (immature lymphocyte) แล้วปรับสภาพไปเป็นลิมโฟไซท์ที่เจริญเต็มที่ (mature lymphocyte)
      ลิมโฟไซท์ที่เจริญเต็มที่แล้วจะออกจากต่อมไทมัสไปอยู่บริเวณม้ามและ ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคเนื่องจากการกระทำของเซลล์ (cellular immunity) คือทำหน้าที่เกี่ยวกับปฎิกริยาภูมิแพ้ และการไม่ยอมรับเนื้อเยื่อแปลกปลอมที่ปลูกถ่ายกับร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อจากเชื้อโรคต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา
      ต่อมไทมัสจะไวต่อการติดเชื้อ รังสี การเจ็บป่วยมาก พบว่าถ้ามีการติดเชื้อนานๆ เมื่อหายแล้วต่อมไทมัสจะมีขนาดเล็กลงเล็กน้อย

       ถ้าต่อมนี้ติดเชื้อหรือฝ่อตั้งแต่แรกเกิด ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนไทโมซินไม่ได้ ทำให้ทารกแรกเกิดติดเชื้อถึงแก่ชีวิตได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น