วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

1.2 เซลล์อะไรบ้างที่สามารถผลิตฮอร์โมนได้

ฮอร์โมนนอกจากผลิตจากต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) แล้วยังสามารถผลิตได้จากเซลล์อื่นๆ อีก

1.ต่อมไร้ท่อ(endocrine gland หรือ ductless gland)
ต่อมไร้ท่อเป็นที่ผลิตฮอร์โมนที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งมีทั้ง ต่อมไร้ท่อที่จำเป็น และต่อมไร้ท่อที่ไม่จำเป็น
1.1 ต่อมไร้ท่อที่จำเป็น หมายถึงต่อมที่ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญต่อร่างกาย ซึ่งถ้าร่างกายขาดฮอร์โมนเหล่านี้ จะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ได้แก่ ต่อมอะดรีนัลคอร์เท็ก ต่อมพาราไทรอยด์ ตับอ่อน เป็นต้น
1.2 ต่อมไร้ท่อที่ไม่จำเป็น หมายถึงต่อมที่ผลิตฮอร์โมนที่ร่างกายขาดฮอร์โมนนี้ ร่างกายยังสามารถดำรงอยู่ได้ แต่จะมีความผิดปกติตามหน้าที่ของฮอร์โมนที่ขาดไป ได้แก่ ต่อมไพเนียล ต่อม   ไทมัส รังไข่ และอัณฑะ เป็นต้น
ต่อมไร้ท่อยังแบ่งตามการหลั่งของฮอร์โมนที่มีผลต่อเซลล์ต่างๆได้ดังนี้
โอโตคริน (autocrine) เป็นเซลล์ต่อมไร้ท่อที่ผลิตฮอร์โมนแล้วมีผลต่อเซลล์ต่อมเอง
- พาราคริน (paracrine : para : รอบๆ) เป็นเซลล์ต่อมไร้ท่อที่ผลิตฮอร์โมนแล้วมีผลต่อเซลล์ข้างเคียง
- เอนโดคริน (endocrine) เป็นเซลล์ต่อมไร้ท่อที่ผลิตฮอร์โมนแล้วมีผลต่ออวัยวะที่ห่างออกไป
                            ผลการหลั่งของฮอร์โมนต่อตำแหน่งของเซลล์ตามที่ต่างๆ
                  โอโตคริน (autocrine) พาราคริน (paracrine) และเอนโดคริน (endocrine)

2.เนื้อเยื่อ (tissue)
เนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆที่ผลิตฮอร์โมนได้แก่ เนื้อเยื่อชั้นในของผนังกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และไตเป็นต้น กลุ่มของฮอร์โมนที่ผลิตที่เนื้อเยื่อเรียกว่าฮอร์โมนจากเนื้อเยื่อ ( tissue hormone) ได้แก่
- แกสตริน (gastrin) สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในของกระเพาะอาหาร มีหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการหลั่งน้ำย่อยและกรดไฮโดรคลอริก และการหลั่งน้ำย่อยจากตับอ่อน รวมทั้งการควบคุมการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก
ซีครีติน (secretin) หลั่งจากลำไส้เล็กส่วนต้น หรือดูโอดีนัม( duodenum)   กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งน้ำย่อยและกระตุ้นตับให้หลั่งน้ำดีออกมาย่อยอาหาร

3.เซลล์ประสาท (neuron)
เซลล์ประสาทที่ผลิตฮอร์โมน หรือเรียกว่า นิวโรซีครีทอรีเซลล์ (neurosecretory cell) ได้แก่เซลล์ประสาทในสมองส่วนไฮโพทาลามัส กลุ่มฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์ประสาทเรียกว่านิวโร ฮอร์โมน (neuro hormone) แล้วถูกส่งไปตามเอกซอนของเซลล์ประสาท จนกระทั่งถึงปลายประสาท เข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต ไปมีผลต่ออวัยวะเป้าหมาย
ฮอร์โมนประสาทที่สร้างจากนิวโรซีครีทอรีเซลล์ในไฮโพทาลามัส แล้วเดินทางมาสิ้นสุด และหลั่งฮอร์โมนประสาท ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง แล้วหลั่งเข้ากระแสเลือดไปยังอวัยวะเป้าหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น