การควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนมี 4 วิธี คือ

ฮอร์โมนจะหลั่งออกมาเมื่อมีความต้องการใช้ เซลล์ของต่อมไร้ท่อจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงของสารในกระแสเลือด หรือความเข้มข้นของฮอร์โมนในกระแสเลือด เฉพาะเจาะจงต่ออวัยวะเป้าหมายเท่านั้น ซึ่งตัวกระตุ้นเหล่านี้ อาจจะมีจำนวนมากแล้วกระตุ้น ให้ฮอร์โมนหยุดการทำงาน เช่นถ้าร่างกายมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง จะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา หรือถ้าร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนกลูคากอนออกมาทำงาน ซึ่งแล้วแต่การทำงานของฮอร์โมนแต่ละตัว


การหลั่งของลูทีไนซิ่งฮอร์โมนที่หลั่งเป็นจังหวะในรอบ 1 วัน


4.การหลั่งแต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง (circadian) เช่นโกรทฮอร์โมนจะหลั่งขณะที่นอนหลับสนิท


การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบยับยั้งย้อนกลับ (negative feedback ) เป็นรูปแบบการควบคุมที่ใช้มาก คือการที่ฮอร์โมนหรือผลของฮอร์โมนนั้น บอกสัญญาณไปยังต่อมไร้ท่อให้หลั่งฮอร์โมนน้อยลง เช่น การทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน เมื่อระดับของกลูโคสในกระแสเลือดมาก ตับอ่อนจะผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมา เพื่อนำกลูโคสเข้าเซลล์ ซึ่งจะทำให้ระดับกลูโคส ในกระแสเลือดลดลง ระดับของน้ำตาลในกระแสเลือดที่ต่ำลง จะไปส่งสัญญาณให้ตับอ่อน ผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดน้อยลง เป็นต้น
การทำงานของฮอร์โมนอินซูลินซึ่งเป็นการควบคุมการทำงานแบบยับยั้งย้อนกลับ

การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบกระตุ้นย้อนกลับ ( positive feedback) เป็นรูปแบบที่พบน้อยกว่า เป็นการทำงานตรงกันข้าม กับการยับยั้งที่กล่าวมาแล้ว คือ แทนที่จะไปยับยั้งแต่ผลของฮอร์โมน จะไปกระตุ้นให้มีการทำงานของต่อมไร้ท่อมากขึ้น เช่น ฮอร์โมนออกซิโทซิน ซึ่งการที่ทารกดูดนมมารดาอยู่สม่ำเสมอ จะเป็นการกระตุ้นให้ต่อมไต้สมองสร้างฮอร์โมนออกซิโทซินตลอดเวลาหรือมากขึ้น
การทำงานของออกซิโทซินซึ่งเป็นการควบคุมการทำงานแบบกระตุ้นย้อนกลับ

การควบคุมโดยระบบประสาท เกิดได้ 2 ทาง คือ




การควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนโดยระบบประสาท(1 และ 2 เป็นการควบคุมโดยตรง ส่วน 3 เป็นการคุมทางอ้อม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น